ปี 2020 กับ Skills ของ Data Scientist ที่ต้องเจอ

หยิบกระดาษขึ้นมาแล้วทำ Checklist กันได้เลย
.


📚 1. Machine Learning และ Deep Learning
จริงๆก็เป็น Main Skills หลักที่ต้องมีเลยนะ
เพราะได้ใช้ในการทำงานสายนี้โดยตลอด
ส่วน Machine Learning เริ่มต้นได้จาก
Traditional Model ง่ายๆเช่น
Linear Regression เจ้าเส้นตรง หรือ
Decision Tree เจ้าต้นไม้
ซึ่งสามารถอธิบายเป็นเหตุเป็นผลได้ไม่ยาก
ให้กับคนที่อยู่นอกสาย Data
.
ส่วน Deep Learning รู้ไว้มีประโยชน์กว่าไม่รู้แน่นอน
เพราะโลกเรา Data เยอะขึ้นเรื่อยๆ
และบางงานเราเน้น Model แม่นๆ
มากกว่าการอธิบายว่าทำไมมันถึงต้องแม่น
.
ส่วน Framework ที่ใช้เขียนก็มีหลายตัวด้วยกัน
เริ่มแบบง่าย ก็ ScikitLearn
หรือระดับกลาง Keras (ปัจจุบันรวมกับ Tensorflow ใช้ง่ายขึ้นเยอะ)
ถ้ายากขึ้นมาหน่อยก็ Pytorch + Tensorflow
ซึ่งทั้งสามตัวเขียนผ่านภาษา Python นั่นเอง
.
สำหรับ ML + DL แอดใช้ตอนทำงานช่วงปีที่หนึ่งตลอดเลย !!
อาจจะลงเป็น ML 80 % DL 20 %
.


📚 2. Natural Language Processing (NLP)
คือการใช้ประโยชน์ จากข้อมูลพวก Text
หรือสอนคอมส์พิวเตอร์ให้เข้าใจภาษามนุษย์
โดย Model ที่เราต้องเจอจะค่อนข้างยากขึ้นมาอีกระดับ
ส่วนใหญ่จะเจอพวก Sequential Model
เช่น LSTM, Bi-LSTM, Transformer, BERT,
Elmo, GPT เป็นต้น
.
ความยากในการศึกษาในเรื่องนี้คือการลงมือทำ
เพราะเราต้องเจอกับภาษา RegularExpression
ใช้ในการจัดการข้อมูล หรือดึง Text ที่ต้องการ
.
ด้วยความที่ NLP เกี่ยวข้องกับภาษา
มันจึงเกี่ยวพันธ์กับ Voice หรือเสียงด้วยนะ
ซึ่ง Data ก็อยู่ในรูปแบบของ Sequential อีกนั่นเอง
น่าสนุกใช่ไหมล่ะ 5555555+
.
สำหรับ NLP แอดใช้ตอนทำงานช่วงปีที่สองค่อนข้างเยอะเลยล่ะ !!
.


📚 3. Statistics สถิติ หนีไม่พ้นหร่อกนะ ฮ่าๆๆๆ
.
คำแนะนำง่ายๆคือเข้าใจ ว่าต้องใช้ตอนไหน
เช่นเราเจอข้อมูล อยากทราบ Insight ง่ายๆ
ก็หมุนข้อมูลไปมา ดูค่า Mean, Min, Max, Range,
Mode, Median, Quantile บลาๆๆๆ
เท่านี้ก็ช่วยระดับนึงแล้ว
.
สถิติ ช่วยให้เราคิดอย่างเป็นระบบ
และไม่เชื่อข้อมูลอะไรง่ายๆ หากไม่มีข้อมูลมากเพียงพอนั่นเอง
.
สำหรับแอดแล้ว Stats ใช้ตลอดการทำงานเลยนะ ^^
.


📚 4. Programming Skills หนีไม่พ้นอีกเช่นกันกับการ Code
.
เรามีให้เลือกมากมายเลยนะไม่ว่าจะเป็น
R, Python, Julia, Matlab
ซึ่งจะเริ่มอย่างไรดี
ก็ลองเลือกก่อนละกันว่าจะเริ่มอะไรก่อนให้ได้ซัก Project
แล้วค่อยเรียน SQL ต่อยอดเพิ่มเติม
.
การเขียนโค้ดช่วยให้เราทำงานยากๆง่ายขึ้น
ทำงานซ้ำๆน่าเบื่อ ให้กลายเป็นอัตโนมัติ
ทำงานที่คำนวณยากให้กลายเป็นงานน่าทึ่ง
และจัดระบบความคิดการทำงานให้เป็นเหตุเป็นผล
.
ก่อนเข้ามาสายงานนี้แอดเรียนตลอด 3 เดือน
จาก Data Camp โดย 3 เดือนนั้น
ตั้งใจเรียนตั้งแต่เช้ายันดึก
+ กับการทำ Project จนมันซึมไปเอง
.


📚 5. MLOps & Workflow
.
ว่าด้วยเรื่องงานของ Data Scientist
หลังจากเราทำ Model เจ๋งๆได้ซักอย่างแล้ว
เราก็คงอยากให้มันทำงานได้เองอัตโนมัติ
นั่นคือการทำ Model Deploying
.
การเขียนโค้ดก็จะมีความละเอียดมากขึ้น
มีความเข้าใจในเรื่องของ Inflastructure มากขึ้น
เข้าใจการ Track Error ที่เกิดขึ้น
รวมไปถึง Cycle ของการทำงาน Model
ว่าเราจะทำการ Train Model ใหม่อีกรอบเมื่อใดดี
.
เรื่องนี้แอดทำมาตั้งแต่ทำงานปีแรกจนถึงปัจจุบันเลยล่ะ
เพราะได้เห็นความ Automation
และ Model เรารันใน Business ได้ โคตรจะฟินเลย
ซึ่ง Skill ด้านนี้จะค่อนข้างยากหน่อยน้า
แต่รับรองเป็นแล้วสนุกแน่นอนนน !
.


📚 6. Git & Agile หนีไม่พ้นอีกเช่นกันกับการ Code
.
การใช้ Git เพื่อใช้งานเขียนโค้ดหรือทำ Project กันเป็นทีม
ข้อนี้อาจจะไม่คุ้นนัก หรือเห็นแล้วต้องเรียนด้วยหรอ
อยากจะบอกว่ารู้ไว้ก็ดีกว่าครัช
แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรก
.
Git ช่วยให้โค้ดเราไม่ปนเปกับโค้ดคนอื่น
และเป็นที่ให้เราแก้ไข และเซฟโค้ดในแต่ละ Version
ซึ่งถ้าไม่มีเจ้า Git ก็เหมือนไม่มี Backup โค้ด
หรือหากโค้ดเราเสีย อยากได้ Version เก่าคืนมา
ก็ทำไม่ได้นั่นเอง !!
.
ส่วน Agile เป็นวิธีการทำงานรูปแบบหนึ่ง
ซึ่งมาจากทางฝั่ง Tech Company
โดยเน้นการทำงานเป็น Cycle
มีการ Feedback งานกันตลอด
และมีการ Deliver งานออกตลอดเช่นกัน
โดยที่งานนั้น ไม่จำเป็นต้องเสร็จ 100 %
แต่เน้น Feedback ช่วยให้งานค่อยสมบูรณ์ขึ้นนั่นเอง
.
เอาจริงข้อนี้แอดอาจจะพูดได้ไม่เต็มปากว่าใช้
เอาเป็นว่าใช้ประมาณ 30 % ละกัน อิอิ
.


📚 7. Big Data & Cloud
.
เมื่อคอมส์เครื่องเดียวไม่พอ
และการทำ Deploy Model อยู่รอบตัวเรา
การเรียนรู้เรื่องพวกนี้จึงเป็นเรื่อง พื้นฐานก็ว่าได้
โดยเรื่องที่เราต้องเจอเพิ่มขึ้นคือ
การเขียนภาษาเพื่อประมวลผลคอมส์หลายๆตัว
หรือ Spark, Scala, Hadoop, Hive
.
อีกด้านหนึ่งคือเรื่องของ Cloud
เช่น Google, Cloudera, Azure, AWS
ซึ่งแต่ละเจ้าก็มีข้อดีข้อเสียต่างกัน
หรือความถนัดในการใช้แตกต่างกันไป
.
ถามแอดว่าจำเป็นไหม
ก็จำเป็นกลางๆนะ
ถ้าเราไม่เจอข้อมูลขนาดใหญ่นัก ก็คงไม่จำเป็น
แต่ถ้าเราอยู่ Enterprise บ. ใหญ่ๆ
ก็ได้ใช้แน่นอนครับ
.


📚 8. Visualization & Data Wrangling
.
สุดท้ายคือสกิลในการงัด Insight ออกมา
ซึ่งคือการ Process Data และแสดงผล
โดยผลที่ออกมาเราจะต้องนำเสนอให้คนอื่นเข้าใจ
พูดง่ายๆก็คือ อธิบายงานที่เราทำให้เด็กๆเข้าใจได้นั่นเอง
.
และผลที่ออกมา…
สามารถทำให้เกิด Business Impact ได้ !!
ซึ่งข้อนี้สำคัญมากๆๆๆๆๆๆๆ
โคตรมากเลย และแอดก็ใช้ข้อนี้ตลอดการทำงาน
.
.
.
สุดท้ายแล้ว เราอาจจะมี Skill ใน List ทั้งหมด
หรือมี Skill แค่อย่างเดียว หรือจะไม่มีเลยก็ตาม
ทั้งหมดนี้มันแค่ส่วนเดียวเองนะที่ต้องเจอในการทำงาน
เพราะ Skills ต่างๆขึ้นกับงานที่ได้รับมอบหมาย
รวมถึงบริษัทที่ได้ไปทำด้วย
ดังนั้น ดูให้แน่ชัดว่าที่เราต้องไปทำต้องใช้ Skills อะไรบ้าง
แล้วเรามีตรงกันไหม ถ้ามีก็เรียนของใหม่เพิ่ม
แต่ถ้าขาดก็ต้องรีบเติม หรือ
หาที่เหมาะกับ Skills ที่เรามีก่อนนั่นเองฮับ
.
อยากฝากไว้ว่า
งานสาย Data Scientist นั้น
เป็นงานที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา
และพยายามย่อย Data ให้เป็นภาษาคนที่เข้าใจง่าย
โดยที่สามารถสร้าง Business Impact ขึ้นมา ^^
และจริงๆแล้ว List ทั้งหมดนี้ก็เป็นแค่ส่วนเดียวเท่านั้นเอง
เพราะในการทำงานต้องใช้ Soft Skills อีกเยอะเลยล่ะ !!
.
ยังไงบอยด์เป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่อยากเข้ามาในสาย Data Scientist นะครับ ❤🌟
.

Reference:
https://towardsdatascience.com/what-skills-new-and-seasoned-data-scientists-should-learn-in-2020-233876b852fa

Published by BigData RPG

I'm just Ordinary Data Scientist who love in A.I., Machine learning, Deep Learning, and Business.

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: